คนไทยกับช้าง
ช้างเป็นส่วนหนึ่งของวิถิชีวิตคนไทยในอดีต ความผูกพันระหว่างคนไทยกับช้างสอดแทรกอยู่ทั้งในความเชื้อมางพระพุทธศานา ดังฉัททันตชาดกที่กล่าวถึงเรื่องราวอดีตชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่เป็นพระยาช้าง และในสังคนไทยนับแตโบรณมาคนไทยก็มีความคุ้นเคยกับช้าง แม้ว่าเป็นสัตว์ใหญ่แต่สามารถจับมาเลี้ยงไว้ใช้งานได้
ทั้งงานขนสินค้าชักลากซุง เป็นพาหนะในการเดินทางในป่ารวมทั้งนำมาฝึกเป็นช้างศึก ใช้การสงครามซึ่งเป็นกองทัพเหล่าหนึ่งในสี่เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลเดินเท้า พลรถ ที่มีความสำคัญมาก ในประวัติศาสตร์ของประเทศสยามมีเรื่องราววีรกรรมของพระหากษัตริย์ที่ทรงช้างศึกกระทำยุทธหัคถีประสบชัยนะ เช่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในอดีตการจัดหาช้างเป็นงานของหลวงและถือว่าช้างเป็นทรัพยากรที่มีค่าของแผ่นดิน เป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญ เป็นแรงงานที่ดี และเป็นสินค้าผักขาด ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของทางราชการ หน่วยงานที่รับผิดชอบในจัดหาและควบคุม ดูแลช้าง คือกรมพระคชบาล การคัดเลือดช้างจะต้องตรวจดูลักษณะช้างแต่ละเชือก ถ้าเป็นช้างสามัณจะคัดตามความกำยำล่ำสันและแขงแรง พร้อมจะนำไปฝึกเป็นช้างศึกในกงทัพหรือเป็นช้างงาน
ช้างที่มีลัษณะดี ถูกต้องตามลักษณะของช้างมงคลดังระบุไว้ในตำราคชลักษณ์จะได้รับการคัดเลือกเป็นช้างต้นหรือช้างพระที่นั่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ส่วนช้างที่จัดอยู่ในประเภทช้างสำคัญ เป็นต้นว่าช้างเผือก ก็จะจัดให้มีการพระราชพิธีรับช้างขึ้นระวาง และสมโภชน์พระราชทานบรรดาศักดิ์ตามลักษณะสำคัญของช้างต่อไป