英语英语 日语日语 韩语韩语 法语法语 德语德语 西班牙语西班牙语 意大利语意大利语 阿拉伯语阿拉伯语 葡萄牙语葡萄牙语 越南语越南语 俄语俄语 芬兰语芬兰语 丹麦语丹麦语 对外汉语对外汉语

泰语学习网

  • 高级搜索
  • 收藏本站
  • 网站地图
  • RSS订阅
  • 设为首页
  • TAG标签
  • TAG列表
  • 关键字列表
当前位置: 首页 » 泰语语法 » 细说泰国方言的区别 » 正文

细说泰语方言的区别 5

时间:2012-05-13来源:互联网作者:jie  进入泰语论坛
核心提示:ก. จำนวนหน่วยเสียงชนิดต่าง ๆ ในภาษาถิ่นต่าง ๆ อาจจะมีจำนวนหน่วยเสียงไม่เท่ากัน ข. ความส
(单词翻译:双击或拖选)

 

  ก.  จำนวนหน่วยเสียงชนิดต่าง ๆ
             ในภาษาถิ่นต่าง ๆ อาจจะมีจำนวนหน่วยเสียงไม่เท่ากัน 
 
 ข.  ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงชนิดต่าง ๆ     อาจแบ่งออกเป็นเรื่องต่าง ๆ  เช่น
            (๑)  ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงพยัญชนะต้นกับหน่วยเสียงวรรณยุกต์
  ในภาษาสงขลา   เมื่อพิจารณาดูความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงพยัญชนะต้นกับหน่วยเสียงวรรณยุกต์แล้ว  อาจจะแบ่งหน่วยเสียงพยัญชนะต้นออกได้เป็น  ๒  กลุ่ม๓
กลุ่มแรก  มี  ๘  หน่วยเสีย  เช่น  /k-/  ในระบบการเขียนของไทยแทนด้วยอักษร ก-
ทั้งในคำเป็นและคำตาย  หน่วยเสียงพยัญชนะกลุ่มนี้จะผันวรรณยุกต์ได้เพียง ๒ หน่วยเสียง คือ วรรณยุกต์ ๓ และ ๔
ตัวอย่างคำเป็น  เช่น  ในคำว่า  เกา,  เก่า (วรรณยุกต์ ๓),  เก้า (วรรณยุกต์ ๔)
ตัวอย่างคำตาย  เช่น  ในคำว่า  กัด (วรรณยุกต์ ๓),  กาด (วรรณยุกต์ ๔)
กลุ่มที่ ๒  มี ๑๔ หน่วยเสียง  เช่น  /kh-/  ในระบบการเขียนของไทยแทนด้วยอักษร  ข- หรือ ค-
ในคำเป็น  หน่วยเสียงพยัญชนะกลุ่มนี้จะผันวรรณยุกต์ได้ ๕ หน่วยเสียง  คือ  วรรณยุกต์  ๑, ๒, ๕, ๖ และ ๗  ตัวอย่างเช่น  ในคำว่า ขา,  ข่า (วรรณยุกต์ ๑), ข้า (วรรณยุกต์ ๒), คา (วรรณยุกต์ ๕), ค่า (วรรณยุกต์ ๖),  และ ค้า (วรรณยุกต์ ๗)
ในคำตาย  หน่วยเสียงพยัญชนะกลุ่มนี้จะผันวรรณยุกต์ได้ ๔ หน่วยเสียง คือวรรณยุกต์ ๑,๒,๖ และ ๗  ตัวอย่างเช่น  ในคำว่า ขัด (วรรณยุกต์ที่ ๑),  ขาด (วรรณยุกต์ ๒),  คัด (วรรณยุกต์ ๗)  และ คาด (วรรณยุกต์ ๖)
จะสังเกตได้ว่า  ในภาษาสงขลาเนื่องจากหน่วยเสียงพยัญชนะต้นกลุ่มแรกกับกลุ่มที่ ๒  ผันวรรณยุกต์ได้จำนวนไม่เท่ากัน  และผันวรรณยุกต์ได้ไม่ซ้ำกันเลย  เราจึงอาจจะแบ่งหน่วยเสียงพยัญชนะต้นออกได้เป็น ๒ กลุ่ม
เมื่อเทียบกับภาษากรุงเทพฯ แล้วจะเห็นว่าลักษณะต่างกัน  เนื่องจากหน่วยเสียงพยัญชนะทุกหน่วยในคำเป็นจะผันวรรณยุกต์ได้ ๕ หน่วยเสียงเท่ากันหมด  เช่น
หน่วยเสียง   /k-/   ในคำ   กา   ก่า   ก้า   ก๊า   ก๋า
หน่วยเสียง  /kh-/  ในคำ   คา   ข่า   ข้า,   ค่า   ค้า   ขา
 
ในคำตาย  ในภาษากรุงเทพฯ หน่วยเสียงพยัญชนะทุกหน่วย  จะผันเป็นวรรณยุกต์เอกได้  เช่น
/k-/       ในคำว่า    กัด,  กาด  /kh-/      ในคำว่า   ขัด,  ขาด
มีหน่วยเสียงพยัญชนะบางหน่วย  เช่น  /kh-/  ซึ่งอาจจะผันเป็นวรรณยุกต์  ตรี และ โท  ด้วยก็ได้เช่นในคำว่า คัด (วรรณยุกต์ตรี),  คาด (วรรณยุกต์โท) ด้วยเหตุนี้  ในภาษากรุงเทพฯ  เราจึงไม่สามารถแบ่งแยกหน่วยเสียงพยัญชนะออกเป็นกลุ่มได้ต้องรวมกันไว้เป็นพวกเดียวกัน
(๒)  ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงสระสั้น/ยาว หน่วยเสียงพยัญชนะท้าย  และหน่วยเสียงวรรณยุกต์
จากตัวอย่างข้างบนนี้จะเป็นว่า  ในภาษาสงขลา  โดยเฉพาะในคำตาย  เมื่อมีหน่วยเสียงสระสั้นอาจจะผันวรรณยุกต์ต่างกับเมื่อมีหน่วยเสียงสระยาวเสมอ  แต่ในภาษากรุงเทพฯ  เมื่อมีหน่วยเสียงสระสั้นอาจจะผันวรรณยุกต์ต่างกับเมื่อมีหน่วยเสียงสระยาว  เช่น  คัด (วรรณยุกต์ตรี)  คาด (วรรณยุกต์โท)  หรืออาจจะผันวรรณยุกต์เหมือนกันก็ได้  เช่น  กัด,  กาด,  ขัด,  ขาด (วรรณยุกต์เอก)
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นต่าง ๆ ในเรื่องระบบเสียงซึ่งอธิบายโดยสังเขป
 
顶一下
(0)
0%
踩一下
(0)
0%

热门TAG: 发音 数量 联系


------分隔线----------------------------
推荐内容