1.ไก่กินข้าวเปลือก
สํานวนสุภาษิตนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า “ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได้” หมายถึงนิสัยลึกๆของคนนั้นยังไงก็ชอบที่จะรับสินบน
ที่มาของสํานวน เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีนเอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทย มีใช้กันอยู่มากในสมัยก่อนๆ
2.ใกล้เกลือกินด่าง
สํานวนสุภาษิตนี้ สิ่งที่หาได้ง่ายหรืออยู่ใกล้ตัวที่มีคุณค่ากว่ากลับไม่เอา แต่กลับไปเอาสิ่งที่อยู่ไกลหรือหายากแต่มีคุณค่าด้อยกว่ามาใช้
ที่มาของสํานวน เปรียบเหมือน การหาเกลือหาง่ายกว่าด่าง แต่กลับไปหาด่างมากิน
3.ขนมพอผสมกับน้ำยา
สํานวนสุภาษิตนี้ ใช้ในการเปรียบเทียบของทั้งสองสิ่งนั้นมีมูลค่า,ความดีความร้าย,ความสามารถ นั้นพอๆกัน ไม่ด้อยไปกว่ากัน
ที่มาของสํานวน มาจาก “ขนมจีนน้ำยา” คือ ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้ได้ส่วนพอเหมาะ จึงจะรับประทานอร่อย ต้องกะส่วนให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย หรือน้ำยาอร่อย แต่ควรอร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง
4.ขี่ช้างจับตั๊กแตน
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการลงทุนลงแรงหรือเวลาเป็นจำนวนมาก เพื่อทำในสิ่ง ที่จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจำนวนน้อย
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการที่จะจับตั๊กแตนนั้น โดยปกติแค่เดินจับก็ได้ แต่หากขี้ช้างมาเพื่อจับตั๊กแตนก็จะดูยิ่งใหญ่แต่สิ่งที่ได้มานั้นไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้รับตอบกลับมา