1.กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
สุภาษิตนี้ หมายสำนวนถึงเมื่อถึงคราวบ้านเมืองนั้นๆถึงคราวยากลำบาก ก็ยังเหลือคนดีมีความสามารถมาช่วยกอบกู้สถานการณ์ช่วยเหลือให้ผ่านพ้นไปได้
ที่มาของสำนวน คาดว่าน่าจะมาจากสมัยกรุงศรีอยุทธยาจริงๆ เนื่องจากปรากฎหลักฐานในสภาพขุนช้างขุนแผนด้วยว่า “คนดีไม่สิ้นอยุธยา” ในตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพล
2.กลิ้งครกขึ้นภูเขา
สำนวนสุภาษิตนี้ ”กลิ้งครกขึ้นภูเขา” นั้นหมายถึง เรื่องที่กำลังจะทำนั้นจะทำให้สำเร็จนั้นทำได้ยากลำบาก ต้องใช้ความพยายามและความสามารถอย่างมาก เปรียบเสมือนการ กลิ้งครกขึ้นภูเขา
ที่มาของสำนวน ส่วนสำนวนที่ว่า “เข็นครกขึ้นภูเขา” นั้นจริงๆแล้วไม่ถูกต้องเพราะต้องใช้คำว่า “กลิ้งครก” ไม่ใช่ “เข็นครก”
3. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
สำนวนสุภาษิตนี้ หมายถึงลักษณะของการทำงานที่มีความรีรอลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้อย่างหนึ่งแล้ว แต่กลับต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป
ที่มาของสำนวน มาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็ว หากมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้ไปซะก่อน
4. กินที่ลับขับที่แจ้ง
สำนวนสุภาษิตนี้ การได้ประโยชน์กันในที่ลับไม่มีใครรู้ แต่ต่อมามีการขัดข้องกันจึงนำเรื่องที่เคยทำนั้นมาเปิดเผยให้หลายๆคนรับรู้ มักใช้ในเชิงชู้สาว
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยได้กับการกินอาหารในที่ส่วนตัวไมีมีใครเห็น แต่เมื่อเวลาถ่ายกลับถ่ายในที่มีคนเห็นมากมายซึ่งเป็นการทำที่ไม่ดี
อีกสำนวนนึงที่เห็นบ่อยและมีความหมายเดียวกันก็คือ “กินที่ลับไขที่แจ้ง”