ธ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ธนบัตร | ธนาบัตร | |
ธนาณัติ | ธนานัติ, ธนาณัต | |
ธรรมเนียม | ทำเนียม | ในหนังสือเก่าๆ เขียน "ทำเนียม" ก็มี, แต่ปัจจุบัน ใช้ "ธรรมเนียม" (มาจาก ธรรม + นิยม) |
ธัญพืช | ธัญญพืช | |
ธำมรงค์ | ธำมรง, ทำมะรงค์ | แปลว่า "แหวน" |
ธำรง | ธำรงค์ | |
ธุรกิจ | ธุระกิจ | สมาสแล้ว ลบวิสรรชนีย์ |
น
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
นพปฎล | นพปดล | แปลว่า เก้าชั้น |
นภดล | นพดล | เว้นแต่ "นพดล" ที่เป็นชื่อเฉพาะ |
นวัตกรรม | นวตกรรม | |
นอต | น็อต, น๊อต | ทับศัพท์จาก nut ในภาษาอังกฤษที่หมายถึงอุปกรณ์ช่าง |
นะ | น๊ะ | ออกเสียงวรรณยุกต์ตรี โดยไม่ปรากฏรูป |
นะคะ | นะค่ะ, นะค๊ะ | คะ เป็นเสียงตรี ไม่ต้องใช้ไม้ตรี ในขณะที่ ค่ะ เป็นเสียงโท |
นันทนาการ | สันทนาการ | |
นัย | นัยยะ | อ่านได้ทั้ง ไน และ ไน-ยะ |
นัยน์ตา | นัยตา | |
น่า | หน้า | คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทำให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก |
นาที | นาฑี | นาฑี เป็นภาษาสันสกฤต พบบ้างในหนังสือเก่า ปัจจุบันพจนานุกรมให้สะกดแบบเดียวเท่านั้น |
นานัปการ | นานับประการ | |
นานา | นา ๆ | คำมูลสองพยางค์ |
น้ำจัณฑ์ | น้ำจัน | |
น้ำมันก๊าด | น้ำมันก๊าซ, -ก๊าส | |
น้ำแข็งไส | น้ำแข็งใส | หมายถึงการนำน้ำแข็งไปไสบนกบ จนได้เกล็ดน้ำแข็ง เป็นวิธีทำแบบดั้งเดิม |
นิจศีล | นิจสิน | |
นิเทศ | นิเทศน์, นิเทส | |
นิมิต | นิมิตร, นิรมิตร | |
นิเวศวิทยา | นิเวศน์วิทยา | |
เนรมิต | เนรมิตร | |
เนืองนิตย์ | เนืองนิจ | |
แน่นหนา | หนาแน่น |
- "แน่นหนา" ว่า มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา มีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา. - "หนาแน่น" ว่า คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก. |
โน้ต | โน๊ต, โน้ท, โน๊ท | อักษรต่ำ ไม่ใส่ไม้ตรี |