英语英语 日语日语 韩语韩语 法语法语 德语德语 西班牙语西班牙语 意大利语意大利语 阿拉伯语阿拉伯语 葡萄牙语葡萄牙语 越南语越南语 俄语俄语 芬兰语芬兰语 丹麦语丹麦语 对外汉语对外汉语

泰语学习网

  • 高级搜索
  • 收藏本站
  • 网站地图
  • RSS订阅
  • 设为首页
  • TAG标签
  • TAG列表
  • 关键字列表
当前位置: 首页 » 泰语语法 » 泰语基础语法 » 正文

คำซ้อนเพื่อเสียง2

时间:2012-05-03来源:互联网作者:jie  进入泰语论坛
核心提示:วิธีสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง 1. นำคำที่เสียงมีที่เกิดระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันซ้อน
(单词翻译:双击或拖选)

 

วิธีสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง
 
          1. นำคำที่เสียงมีที่เกิดระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันซ้อนกันเข้า
 
          2. ซ้อนกันแล้ว จะเกิดความหมายใหม่ ซึ่งโดยมากไม่เนื่องกับ
 
ความหมายของคำเดี่ยวแต่ละคำ แต่ที่มีความหมายเนื่องกันก็มี
 
สระหน้ากับกลาง
 
อิ + อะ เช่น จริงจัง ชิงชัง
 
เอะ เอ + อะ อา เช่น เกะกะ เปะปะ เบะบะ เละละ 
 
เก้งก้าง เหง่งหง่าง
 
แอะ แอ + อะ อา เช่น แกรกกราก
 
สระกลางกับกลาง
 
อึ + อะ เช่น ขึงขัง ตึงตัง กึงกัง ตึกตัก ทึกทัก หงึกหงัก
 
เออะ เออ + อะ อา เช่น เงอะงะ เทอะทะ เร่อร่า เซ่อซ่า เลิ่กลั่ก เยิบยาบ
 
สระหลังกับกลาง
 
อุ + อะ อา เช่น ตุ๊ต๊ะ ปุปะ กุกกัก รุงรัง ปุบปับ
 
งุ่นง่าน ซุ่มซ่าม รุ่มร่าม
 
โอะ โอ + อะ อา เช่น โด่งดัง กระโตกกระตากโคร่งคร่าง โผงผาง
 
เอาะ ออ + อะ อา เช่น หมองหมาง
 
          2. เสียงของคำที่มาซ้อนกันมีเสียงที่เกิดระดับเดียวกัน ดัง
 
กล่าวแล้วในเรื่องเสียงสระ เสียงระดับเดียวกันคือ เสียงที่เกิดเมื่อ
 
โคนลิ้นหรือปลายลิ้นกระดกขึ้นได้ระดับเดียวกัน เสียงสระหน้ากับสระ
 
หลังที่ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกัน ได้แก่ อิ กับ อุ เอะ กับ โอะ แอะ
 
กับ เอาะ แต่คำที่นำมาซ้อนกัน เสียงสระหลังจะเป็นคำต้น เสียงสระ
 
หน้าเป็นคำท้าย ที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะเมื่อเวลาออกเสียง
 
ลมหายใจจะต้องผ่านจากด้านหลังของปากมาทางด้านหน้า คำที่ซ้อน
 
เพื่อเสียงลักษณะนี้มีดังนี้
 
อุ อู + อิ อี เช่น ดุกดิก ยุ่งยิ่ง กรุ้มกริ่ม อุบอิบ อู้อี้ บู้บี้ จู้จี้ สูสี
 
โอะ โอ + เอะ เอ เช่น โงกเงก โอนเอน โย่งเย่ง บ๊งเบ๊ง โอ้เอ้ โย้เย้ โผเผ
 
เอาะ ออ + แอะ แอ เช่น ง่อกเง่ก จ๋องแจ๋ง กรอบแกรบ กล้อมแกล้ม อ้อแอ้ งอแง ร่อแร่ วอแว
 
ที่เป็นสระผสมก็มี ส่วนมากเป็นสระผสมกับหลัง ดังนี้
 
สระหน้ากับหน้า 
 
เอีย + ไอ อาย เช่น เรี่ยไร เรี่ยราย เบี่ยงบ่าย เอียงอาย
 
ไอ + เอีย เช่น ไกล่เกลี่ย ไล่เลี่ย
 
สระหลังกับหลัง
 
อัว + เอา เช่น ยั่วเย้า มัวเมา
 
สระหลังกับหน้า
 
เอา อาว + ไอ อาย เช่น เมามาย ก้าวก่าย
 
อัว + เอีย เช่น อั้วเอี้ย ยั้งเยี้ย กลั้วเกลี้ย ต้วมเตี้ยม ป้วนเปี้ยน
 
          3. เสียงของคำที่มาซ้อนกันมีที่เกิดอื่นๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว
 
คำที่มีตัวสะกด ตัวสะกดคำต้นกับคำท้ายต่างกันก็มี ดังนี้
 
สระกลางกับหน้า 
 
อะ + เอีย เช่น พับเพียบ ยัดเยียด ฉวัดเฉวียน
 
สระกลางกับหลาง 
 
เอือ + อา เช่น เจือจาน
 
สระกลางกับหลัง
 
อะ + อัว เช่น ผันผวน
 
สระหน้ากับกลาง
 
เอีย + อา เช่น เรี่ยราด ตะเกียกตะกาย
 
สระหน้ากับหลัง
 
เอ + ออ เช่น เร่ร่อน
 
สระหลังกับกลาง
 
อัว + อา เช่น ชั่วช้า ลวนลาม
 
สระหลังกับหน้า
 
อัว + เอ เช่น รวนเร สรวลเส
 
เอา + อี เช่น เซ้าซี้
 
สระหลังกับหลัง
 
โอ + เอา เช่น โง่เง่า
 
 
          4. คำที่นำมาซ้อนกันมีสระเดียวกันแต่ตัวสะกดต่างกัน มี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
 
                    ก. ตัวสะกดต่างกันในระหว่างแม่ตัวสะกดวรรคเดียวกัน
 
คือระหว่าง แม่กก กับ กง แม่กด กับ กน และแม่กบ กับ กม ดังนี้
 
แม่กก กับ แม่กง เช่น แจกแจง กักขัง
 
แม่กด กับ แม่กน เช่น อัดอั้น ออดอ้อน เพลิดเพลิน จัดจ้าน คัดค้าน
 
แม่กบ กับ แม่กม เช่น รวบรวม ปราบปราม
 
                    ข. ตัวสะกดต่างกันไม่จำกัดวรรค ได้แก่
 
แม่กก กับ แม่กม เช่น ชุกชุม
 
แม่กก กับ แม่กน เช่น แตกแตน ลักลั่น ยอกย้อน
 
แม่กก กับ แม่เกย เช่น ทักทาย ยักย้าย หยอกหย็อย
 
แม่กด กับ แม่กง เช่น สอดส่อง
 
          5. คำที่นำมาซ้อนกัน ต่างกันทั้งเสียงสระ และตัวสะกด
 
แม่กก กับ แม่กง เช่น ยุ่งยาก ยักเยื้อง กระดากเดื่อง
 
แม่กก กับ แม่กน เช่น รุกราน บุกบั่น ลุกลน
 
แม่กก กับ แม่กม เช่น ขะมุกขะมอม
 
แม่กก กับ แม่เกย เช่น แยกย้าย โยกย้าย ตะเกียกตะกาย
 
แม่กง กับ แม่เกย เช่น เบี่ยงบาย เอียงอาย มุ่งหมาย
 
แม่กง กับ แม่กน เช่น คั่งแค้น กะบึงกระบอน
 
แม่กด กับ แม่กง เช่น ปลดเปลื้อง ตุปัดตุป่อง เริดร้าง ตะขิดตะขวง
 
แม่กด กับ แม่กน เช่น อิดเอื้อน ลดหลั่น
 
แม่กน กับ แม่กง เช่น เหินห่าง พรั่นพรึง หม่นหมอง แค้นเคือง
 
แม่กน กับ แม่กม เช่น รอนแรม ลวนลาม
 
แม่กบ กับ แม่กม เช่น ควบคุม
 
แม่กม กับ แม่กง เช่น คลุ้มคลั่ง
 
แม่กม กับ แม่เกย เช่น ฟุ่มเฟือย
 
ที่ คำท้าย เป็นคำที่ไม่มีเสียงตัวสะกดเลยก็มี เช่น
 
ลบหลู่ ปนเป เชือนแช พื้นเพ หมิ่นเหม่ ลาดเลา หดหู่
 
เขม็ดแขม่ เตร็ดเตร่ โรยรา ตะครั่นตะครอ ทุลักทุเล คลุกคลี
 
          6. คำที่ซ้อนกัน มีสระเดียวกันแต่ตัวสะกดคำท้ายกร่อนเสียง
 
หายไป คำเหล่านี้เชื่อว่าคงจะเป็นคำซ้ำ เมื่อเสียงไปลงหนักที่คำต้น
 
เสียงคำท้ายที่ไม่ได้เน้นจึงกร่อนหายไป น่าสังเกตว่าเมื่อตัวสะกด
 
กร่อนหายไป เสียงสูงต่ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อชดเชยกับเสียง
 
กร่อนนั้นๆ ได้แก่ จอนจ่อ (จากจอนๆ) งอนหง่อ ร่อยหรอ เลินเล่อ เตินเต่อ เทินเถ่อ
 
โยกโย้ ทนโท่ ดนโด่ (ในคำกระดกกระดนโด่)
顶一下
(0)
0%
踩一下
(0)
0%

热门TAG: 相近 有相同的元音


------分隔线----------------------------
[查看全部]  相关评论
推荐内容