แม่น้ำสำคัญๆ ในประเทศไทย
แม่น้ำภาคกลาง(中部)
แม่น้ำเจ้าพระยา(湄南河、又译为“昭披耶河”) มีต้นกำเนิดจากการบรรจบกันของแม่น้ำสำคัญ 4 สายหรือ 4 แคว ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และไหลลงอู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ 370 กิโลเมตร เปรียบเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของเมืองไทย
แม่น้ำท่าจีน(他真河) มีต้นกำเนิดจากการแยกตัวของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท เรียกว่า แม่น้ำมะขามเฒ่า ผ่านสุพรรณบุรี เรียกว่า แม่น้ำสุพรรณบุรี ผ่านนครปฐม เรียกว่า แม่น้ำนครชัยศรี ผ่านสมุทรสาคร เรียกว่า แม่น้ำท่าจีน ไหลลงสู่อ่าวไทยระหว่างตำบลบางหญ้าแพรก กับตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวประมาณ 315 กิโลเมตร
แม่น้ำบางปะกง(挽巴功河) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันกำแพง ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร
แม่น้ำป่าสัก (巴塞河)มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ป้อมเพชร อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร