ตัวการันต์
ตัวการันต์ คือ ตัวอักษรที่ไม่อ่านออกเสียงจะมีไม้ทัณฑฆาต (-์) กำกับไว้้้ข้างบน เช่น
จันทร์ | โทรทัศน์ | กษัตริย์ | รถยนต์ | โรงภาพยนตร์ |
ตัวการันต์ มีหลักการใช้ดังนี้
- เขียนบนพยัญชนะตัวเดียว เช่น
-
- ศิษย์ ทิพย์ รัตน์
- เขียนบนพยัญชนะสองตัวเรียงกัน เช่น
-
- ยนตร์ พักตร์ กาญจน์
- เขียนบนพยัญชนะสามตัวเรียงกัน เช่น
-
- ลักษมณ์
[แก้ไข]หลักการใช้ ศ ษ ส
- หลักการใช้ ศ มีดังนี้
-
๑. ใช้กำกับคำไทยบางคำ เช่น
- ปราศ ศอก ศก
-
๒. ใช้เป็นตัวสะกดในคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น
- อัศเจรีย์ พฤศจิกาย,น พิศวาส
-
๓. ใช้เขียนคำที่มีจากภาษาอื่น เช่น
- ฝรั่งเศส ไอศกรีม
- หลักการใช้ ษ มีดังนี้
-
๑. ใช้กับคำไทยบางคำ เช่น
- กระดาษ ดาษดื่น
-
๒. ใช้เป็นตัวสะกดในคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น
- พิษณุโลก ราษฎร
-
๓. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น
- อังกฤษ
- หลักการใช้ ส มีดังนี้
- ๑. ใช้กับคำทั่วไป
-
๒. ใช้ในคำที่มาจากภาษาบาลี เพราะภาษาบาลีไม่มี ศ ษ เช่น
- โอกาส โอภาส
-
๓. ใช้ในคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น
- สาแห