การสมาสคำ
หลักการสมาส คือ นำบาลีสันสกฤตมาสมาสกัน แล้วนำคำขยายไว้ข้างหน้า ไม่ใส่เครื่องหมาย ์ ะ แต่อ่านออกเสียงต่อเนื่องกันได้ มักมีคำว่า ศาสตร์ ภัย กรรม ภาพ กร อยู่
หลักสังเกต พิจารณาว่า
1) มาจากคำบาลี สันสกฤต หรือไม่ คำที่ยกตัวอย่างให้นี้ มักใช้เป็นคำหลอก เช่น เรือน วัง ทุน สินค้า ลำเนา เคมี ไม้
2) การเรียงคำหลัก ต้องอยู่หลัก เช่น ผลผลิต (ประสม) ผลิตผล (สมาส)
การสนธิคำ
หลักการของสนธิ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้คำใหม่ วิธีสังเกต ลองแยกคำเหล่านั้นออก แล้วดูว่า ต้องเติม อ เพื่อให้ได้คำหลังที่สมบูรณ์หรือไม่ เช่น
ราโชรส มาจาก ราช – โอรส, คเชนทร์ มาจาก คช – อินทร์ เป็นต้น
การแผลงคำ
การเปลี่ยนแปลงอักษรของคำในภาษาไทยหรือคำในภาษาอื่นที่ไทยนำมาใช้ให้มีรูปที่ต่างไปจากเดิม มีความหมายใหม่ แต่ยังคงรักษาเค้าของความหมายเดิม
1、การแผลงสระ คือ การเปลี่ยนแปลงคำทางสระให้คำนั้นมีสระผิดไปจากเดิม เช่น จาก สระอะ เป็นสระอา ในคำว่า อธรรม – อาธรรม, วน – วนา เป็นต้น
2、การแผลงพยัญชนะ คือ การเปลี่ยนแปลงคำ โดยแปลงพยัญชนะ ไปเป็นพยัญชนะอื่น อาจกลายร่วมกับสระด้วย เช่น กัน –กำนัน, เกิด – กำเนิด, ขจร – กำจร, จน – จำนน, ขาน – ขนาน, ชิด – ชนิด, ทรุด – ชำรุด, ผทม – บรรทม, เพราะ – ไพเราะ, พัก –พำนัก, จอง – จำนอง
3、การแผลงวรรณยุกต์ คือ การเปลี่ยนแปลงคำด้วยการแปลงวรรณยุกต์ในคำนั้น ๆ ให้เป็นรูปอื่น เช่น จึง – จึ่ง, ดัง – ดั่ง, บ –บ่, นั่น – นั้น, นี่ – นี้ เป็นต้น
การทับศัพท์
การทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย โดยมากมักเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น ฟุตบอล ปลั๊ก ทอฟฟี่ เชิ้ต แท็กซี่ แบตเตอรี่ โน้ต คอมพิวเตอร์ ชาร์ต
การบัญญัติศัพท์
ศัพท์บัญญัติ หมายถึง การกำหนดคำขึ้นมาเพื่อแทนคำที่ยืมมาใช้ โดยให้เป็นคำในภาษาไทยที่มีความหมายตรงกับคำที่ยืมมา แต่ในการประกอบรูปคำขึ้นใหม่นั้น อาจใช้ทั้งคำไทยแท้ หรือคำจากภาษาอื่น ๆ มาประกอบกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
Automatic บัญญัติเป็น อัตโนมัติ
Cosmetic บัญญัติเป็น เครื่องสำอาง
Entertainment บัญญัติเป็น การบันเทิง
Propaganda บัญญัติเป็น การโฆษณาชวนเชื่อ
Stamp บัญญัติเป็น ดวงตราไปรษณียากร
Seminar บัญญัติเป็น สัมมนา
Telephone บัญญัติเป็น โทรศัพท์