วลี
วลี คือกลุ่มคำที่มีเนื้อความไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ ทำหน้าที่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยค
ประโยค
ประโยคคือข้อความที่นำคำมาเรียงต่อกันและมีความครบถ้วนของเนื้อความ
ส่วนของประโยค
ประโยคจะประกอบไปด้วยเนื้อความอย่างน้อยสองส่วนคือ ภาคประธาน และภาคแสดง
การจำแนกประโยคในภาษาไทย ในภาษาไทยมีการจำแนกประโยคเพื่อศึกษาประโยคด้วยวิธีการต่าง ๆ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเพียง ๒ วิธี คือ การจำแนกตามเจตนาในการสื่อสาร และการจำแนกตามใจความของข้อความ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชนิดของประโยค (แบ่งตามเจตนาในการสื่อสาร) คือการจำแนกประโยคออกตามเจตนาในการสื่อสารของผู้ส่งสาร สามารถจำแนกประโยคออกเป็น ๓ ชนิด ดังนี้
๑. ประโยคแจ้งให้ทราบ จำแนกย่อยออกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑.๑. ประโยคบอกเล่าเนื้อความรับรอง
๑.๒. ประโยคบอกเล่าเนื้อความปฏิเสธ
๒. ประโยคถามให้ตอบ จำแนกย่อยออกได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่
๒.๑. ประโยคถามเนื้อความ
๒.๒. ประโยคถามให้ตอบรับหรือตอบปฏิเสธ
๒.๓. ประโยคถามให้เลือก
๓. ประโยคบอกให้ทำ จำแนกย่อยออกได้เป็น ๖ ประเภท ได้แก่
๓.๑. ประโยคคำสั่ง
๓.๒. ประโยคขอร้อง
๓.๓. ประโยคชักชวน
๓.๔. ประโยคอนุญาต
๓.๕. ประโยคเสนอแนะ
๓.๖. ประโยคขู่
ชนิดของประโยค (แบ่งตามใจความของข้อความ) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑. ประโยคความเดียว
๒. ประโยคความซ้อน
๓. ประโยคความรวม