คำประสมที่ใช้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ที่จริงถ้าจะเทียบกับคำ
ประสมที่ใช้เป็นคำนาม คุณศัพท์และกริยาแล้ว คำประสมที่ใช้เป็นกริยาวิเศษณ์มีน้อยกว่ามาก ดังนี้
1. คำตัวตั้งเป็นคุณศัพท์ คำขยายเป็นคำนาม ได้แก่
สามขุม ใช้กับ ย่าง เป็น ย่างสามขุม
สามหาว " พูด เป็น พูดสามหาว
2. คำตัวตั้งเป็นกริยา คำขยายเป็นคำนาม ได้แก่
นับก้าว ใช้กับ เดิน เป็น เดินนับก้าว
สับเงา " นั่ง เป็น นั่งสับเงา
3. คำตัวตั้งเป็นคำนาม คำขยายเป็นคำอื่นๆ ได้แก่
คอแข็ง ใช้กับ นั่ง เป็น นั่งคอแข็ง (เถียงไม่ออก)
คอตก " นั่ง เป็น นั่งคอตก (เศร้าเสียใจ)
4. คำตัวตั้งเป็นบุรพบท คำขยายเป็นคำนาม ได้แก่
ในตัว เช่น เป็นนายเป็นบ่าวอยู่ในตัว
ในที " ยิ้มอยู่ในที
ในหน้า " ยิ้มในหน้า
นอกหน้า " แสดงออกจนออกนอกหน้า
ซึ่งหน้า " ว่าซึ่งหน้า
5. คำตัวตั้งเป็นคำบุรพบท คำขยายเป็นคำกริยาวิเศษณ์ ได้แก่
ตามมีตามเกิด เช่น ทำไปตามมีตามเกิด (สุดแต่จะทำได้)โดยแท้ " เขาชำนาญเรื่องนี้โดยแท้
ยังมีคำอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีบุรพบทนำหน้า มีคำวิเศษณ์ตามมา
เช่น โดยดี โดยเร็ว โดยด่วน ตามสะดวก ตามถนัด แต่ไม่
กำหนดไปตายตัว อาจเปลี่ยนคำที่ตามมาเป็นอย่างอื่นได้ จึงไม่น่าถือเป็นคำประสม
สรุปได้ว่า คำประสมอาจใช้เป็นได้ทั้งนาม คุณศัพท์ กริยา และกริยาวิเศษณ์
ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับคำประสม
คำที่ไม่เกิดความหมายใหม่ จัดเป็น วลี หรือกลุ่มคำ เช่น
ลูกหมาตัวนี้ถูกแม่ทิ้ง เป็นวลี เพราะไม่เกิดความหมายใหม่
เจ้าหน้าที่กำลังฉีดยากำจัดลูกน้ำ เป็นคำประสม เพราะไม่ได้หมายถึงลูกของน้ำ