泰语学习网
คำประสม5
日期:2012-05-03 18:24  点击:471

 

คำประสมที่ใช้เป็นกริยา ส่วนมากใช้คำกริยาเป็นคำตัวตั้งและ
 
คำขยาย แต่ที่ใช้คำอื่นเป็นคำตัวตั้งและคำขยายก็มี ความหมายมักเป็น
 
ไปในเชิงอุปมา ดังนี้
 
          1. คำตังตั้งเป็นคำกริยา คำขยายเป็นกรรม มีความ
 
หมาย กำหนดใช้เป็นพิเศษ เป็นที่รับรู้กัน คือยิงปืน (หรือ ยิงธนู ยิงหน้าไม้ ยิงปืนกล)
 
หมายความว่า ยิงด้วยปืน ด้วยธนู ทำให้ลูกปืนหรือลูกธนูแล่นออกไปโดย
 
แรงด้วยแรงส่ง ไม่ใช่ยิงไปที่ปืน อย่างยิงคน ยิงสัตว์
 
ตัดเสื้อ (ตัดกางเกง ตัดกระโปรง) หมายว่า ตัดผ้าทำเป็นเสื้อ
 
กางเกง หรือกระโปรง ไม่ใช่ตัดผ้าที่เย็บเป็นเสื้อแล้ว
 
ตัดถนน (ตัดทาง) ทำให้เกิดเป็นทางขึ้น ไม่ใช่ตัดทางหรือตัดถนนที่มีอยู่แล้ว
 
ขุดหลุม (ขุดบ่อ ขุดคลอง) ทำให้เกิดเป็นหลุม บ่อ หรือคลอง
 
ขึ้น ไม่ใช่ขุด หลุม หรือบ่อ หรือคลอง ที่มีอยู่แล้ว
 
เดินจักร เย็บผ้าด้วยจักร คือทำให้จักรเดิน ไม่ใช่เดินไปที่จักร
 
 
          2. คำตัวตั้งเป็นคำกริยา คำขยายเป็นคำนามที่เป็นชื่อวัยวะของร่างกาย มีความหมาย
 
ไปในเชิงอุปมา ดังนี้
 
กริยา + ใจ
กินใจ หมายความว่า แคลงใจ สงสัย ไม่วางใจสนิท
ตั้งใจ " ทำโดยเจตนา จงใจ
ตายใจ " วางใจ เชื่ออย่างไม่สงสัย
นอนใจ " วางใจไม่รีบร้อน
เป็นใจ " สมรู้ร่วมคิด รู้กัน
กริยา + หน้า
หักหน้า " ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อาย
ไว้หน้า " รักษาเกียรติไว้ให้ ไม่พูดจาให้เป็นที่
เสื่อมเสีย
ได้หน้า " ได้รับคำยกย่องชมเชย
เสียหน้า " ได้รับความอับอาย
กริยา + ตัว
ไว้ตัว " ถือตัว ไม่สนิทสนมกับใครง่ายๆ
ออกตัว " พูดถ่อมตัวไว้ก่อน กันถูกตำหนิ
ถือตัว " ไว้ตัว เพราะถือว่าตนเหนือกว่าด้วย
ฐานะ ความรู้ ฯลฯ
 
ที่คำขยายเป็นคำนามอื่นๆ ก็มี เช่น วิ่งราว วิ่งรอก เดินแต้ม
เดินโต๊ะ
 
 
          3. คำตัวตั้งเป็นคำกริยา คำขยายเป็นบุรพบท ได้แก่
 
กินใน หมายความว่า แหนงใจ ระแวงสงสัย ไม่สนิทได้ดังเดิม
 
เสมอนอก " เอาใจใส่ช่วยอยู่ห่างๆ ภายนอก
 
เป็นกลาง " ไม่เข้าข้างใคร
 
 
          4. คำตัวตั้งเป็นบุรพบท คำขยายเป็นคำนาม ได้แก่
 
นอกใจ หมายความว่า ประพฤติไม่ชื่อตรง เอาใจไปเผื่อแผ่ผู้อื่นนอกจากคู่ของตน
 
นอกคอก " ประพฤติไม่ตรงตามแบบแผนธรรมเนียม
 
          5. คำตัวตั้งเป็นคำวิเศษณ์ คำขยายเป็นคำนามที่เป็นอวัยวะของร่างกาย
 
วิเศษณ์ + ใจ
แข็งใจ หมายความว่า ทำใจให้แข็งแรง ไม่ท้อถอยเหนื่อยหน่าย
อ่อนใจ " ระอา ท้อถอย
น้อยใจ " รู้สึกเสียใจ แค้นใจที่ได้รับผลไม่สมกับที่
ลงแรงหรือท่หวัง
ดีใจ " ยินดี
วิเศษณ์ + หน้า
น้อยหน้า " ไม่เทียมหน้าคนอื่น
หนักหน้า " ภาระหรือความรับผิดชอบตกอยู่ที่ตน
วิเศษณ์ + มือ
หนักมือ " รุนแรง กำเริบ
แข็งมือ " ตั้งข้อสู้ไม่ลดละ
น่าสังเกตว่าคำประสมลักษณะนี้โดยมากสับหน้าสับหลังกันได้เช่น
แข็งใจ-ใจแข็ง อ่อนใจ-ใจอ่อน น้อยใจ-ใจน้อย ดีใจ-ใจดี หนักมือ-มือหนัก
แข็งมือ-มือแข็ง (น้อยหน้า กับ หนักหน้า สับไม่ได้ ไม่มีความหมาย)
คำที่สับหน้าสับหลัง สับที่กันเช่นนี้ หน้าที่ของคำต่างกันไปด้วยคือคำที่มีชื่อ
อวัยวะร่างกายอยู่ข้างท้าย เช่น วิศษณ์ + ใจ คำนั้นใช้เป็นคำกริยา
แต่ถ้าชื่ออวัยวะร่างกายอยู่ต้นคำ เช่น ใจ + วิเศษณ์ คำนั้นใช้เป็นคำ
ขยายนาม
ส่วนคำในข้อ 2 ที่คำตัวตั้งเป็นกริยาและคำขยายเป็นชื่ออวัยวะ
คำลักษณะนี้สับหน้าสับหลังกันไม่ได้ เช่น ตั้งใจ นอนใจ ไม่มี ใจตั้ง 
ใจนอน นอกจากบางคำซึ่งนับเป็นส่วนน้อย เช่น เสียหน้า มี หน้าเสีย
 
 
          6. คำตัวตั้งเป็นกริยา คำขยายก็เป็นกริยา มีความสำคัญเท่ากันเหมือนเชื่อมด้วย
และ อาจสับหน้าสับหลังกันได้ คำใดอยู่ต้นถือเป็นตัวตั้ง 
ความสำคัญอยู่ที่นั่น คำท้ายเป็นคำขยายไป เช่นเที่ยวเดิน-เดินเที่ยว ให้หา-หาให้
 
          7. คำตัวตั้งเป็นคำกริยา คำขยายเป็นกริยาวิเศษณ์ได้แก่
 
อวดดี หมายความว่า ทะนงใจว่าตัวดี
 
ถือดี " ถือว่าตัวดี ทะนงตัว
 
คุยโต " พูดเป็นเชิงอวด
 
วางโต " ทำท่าใหญ่โต
 
          8. คำตัวตั้งเป็นคำกริยา มีคำอื่นๆ ตาม มีความหมายไปในเชิงอุปมา และมีที่ใช้เฉพาะ ได้แก่
 
ตัดสิน หมายความว่า ลงความเห็นเด็ดขาด
 
ชี้ขาด " วินิจฉัยเด็ดขาด
 
นั่งนก " นั่งหลับ
 
อยู่โยง " เฝ้าสถานที่แต่ผู้เดียว
 
ตกลง " ยินยอม

分享到:

顶部
11/17 21:51
首页 刷新 顶部