คำประสมใช้เป็นคำคุณศัพท์หรือคำนาม มีความหมายในเชิงอุปมา ดังนี้
1. คำตังตั้งเป็นคำนามชื่ออวัยวะของร่างกาย คำ
ขยายเป็นคำนาม กริยา หรือคุณศัพท์ ความหมายของคำที่ประสม
แล้วมีอุปมาเปรียบเทียบดุจดังสิ่งนั้นๆ มีลักษณะหรืออาการอย่างนั้น ที่
ใช้เป็นชื่อต้นไม้มีเป็นอันมาก แสดงว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งนั้นๆ ดังนี้
หัว ได้แก่ หัวนอก หัวไม้ หัวเรือใหญ่ หัวหน้า หัวพุงหัวมัน หัวแข็ง หัวอ่อน
หน้า ได้แก่ หน้าม้า หน้าเป็น หน้าตาย หน้าหนา หน้าบาง
ตา ได้แก่ ตากบ ตากุ้ง ตาไก่ ตาขาว ตาเขียว
ปาก ได้แก่ ปากกา ปากไก่ ปากฉลาม ปากเป็ด ปากแข็ง ปากตลาด
ลิ้น ได้แก่ ลิ้นไก่ ลิ้นปี่ ลิ้นทะเล ลิ้นหมา ลิ้นงูเห่า ลิ้นมังกร
คอ ได้แก่ คอแร้ง คอหอย คอแข็ง คอสูง คอสอง
ใจ ได้แก่ ใจกว้าง ใจแคบ ใจจืด ใจดำ ใจน้อย ใจใหญ่ ใจเบา ใจเย็น ใจร้อน ใจลอย
2. คำตัวตั้งเป็นคำนามอื่นๆ ที่มีลักษณะอันจะนำมาใช้
เป็นอุปมาเปรียบเทียบได้ คำขยายเป็นคำกริยาหรือคำนาม ได้แก่
ลูก มักหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะกลมหรือที่มีลักษณะเป็นรองประกอบกับ
สิ่งที่ใหญ่กว่าสำคัญกว่า มีคำว่า
ลูกกวาด ลูกช่วง ลูกชิ้น ลูกดิ่ง ลูกตุ้ม ลูกบวบ ลูกฟูก ลูกโยน
ลูกคิด ลูกจ้าง ลูกน้อง ลูกความ ลูกขุน ลูกค้า ลูกช้าง ลูกเลี้ยง ลูกไล่ ลูกวัด
แม่ มักหมายถึง ผู้มีความสำคัญ อาจขนาดหัวหน้างาน ปกครองคน
หรือหมายถึง สิ่งสำคัญกว่าใหญ่กว่า มีคำว่า
แม่งาน แม่ทัพ แม่บ้าน แม่สื่อ แม่เลี้ยง แม่ครัว แม่มด แม่บท
แม่ย่านาง แม่แรง แม่เหล็ก แม่พิมพ์ แม่น้ำ แม่เบี้ย