คำซ้อน 2 คู่
คำซ้อนลักษณะนี้จะมีคำที่มีคำ 2 คำ ซึ่งอาจเป็นคำซ้อนหรือไม่
ใช่คำซ้อนก็ได้ ซ้อนกันอยู่ 2 คู่ด้วยกัน มีลักษณะต่างๆ กัน
1. คำซ้อนสลับ คือคำซ้อน 2 คู่สลับที่กัน คู่แรกแยกเป็นคำ
ที่ 1 กับ 3 คู่ที่ 2 แยกเป็นคำที่ 2 กับ 4 คำที่นำมาซ้อนกันมักเป็นคำ
ตรงกันข้าม ความหมายทั้งคำจึงต่างกับความหมายของคำที่แยกออกที
จะคำไปบ้าง ดังนี้
หน้า ชื่น อก ตรม ปากหวานก้นเปรี้ยว ผิดชอบชั่วดี หนักนิดเบาหน่อย
2. คำที่ซ้อนกันเป็น 2 คู่เป็นคำประสมไม่ใช่คำซ้อน ซึ่งมีคำที่ 1 กับ 3 เป็นคำเดียวกัน
และคำที่ 2 กับ 4 เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันใช้ซ้อนกันอยู่ ความหมายจะเด่น
อยู่ที่คำข้างหน้าหรือคำข้างท้าย 2 คำ คำที่ 2 กับ 4 มักเป็นคำนาม ที่เป็นคำกริยาก็มีบ้าง
อด หลับ อด นอน (อดนอน ความหมายเด่นอยู่ที่คำท้าย 2 คำ)
ผิดหูผิดตา (ผิดตา ความหมายเด่นอยู่ที่คำท้าย)
ถูกอกถูกใจ (ถูกใจ ความหมายเด่นอยู่ที่คำท้าย)
หน้าอกหน้าใจ (หน้าอก ความหมายเด่นอยู่ที่คำหน้า 2 คำ)
หายใจหายคอ (หายใจ ความหมายเด่นอยู่ที่คำหน้า 2 คำ)
เป็นทุกข์เป็นร้อน (เป็นทุกข์ ความหมายเด่นอยู่ที่คำหน้า 2 คำ)
น่าสังเกตว่าถ้าเป็นเรื่องร่างกาย ความหมายเด่นอยู่ที่คำ อก
แต่ถ้าเป็นเรื่องความรู้สึกความหมายอยู่ที่ใจ
3. คำที่ซ้อนกันเป็นคำประสม 2 คู่ คำที่ 2 กับ 4 เป็นคำตรง
กันข้าม ส่วนคำที่ 1 กับ 3 เป็นคำเดียวกัน ความหมายของคำซ้อน
ลักษณะนี้จึงต่างกับความหมายของคำเดี่ยวที่แยกออกไปทีละคำ ดังนี้
มิดีมิร้าย หมายความว่า ร้าย (ไม่ใช่ว่าไม่ดีไม่ร้ายเป็นกลางๆ อย่างไม่ได้ไม่เสีย ไม่แพ้ไม่ชนะ)
พอดีพอร้าย หมายความว่า ปานกลาง ไม่ดีมากแต่ก็ไม่เลวมาก
ไม่มากไม่น้อย หมายความว่า วางตัวพอดี เฉยๆ
คำในข้อ 2 กับข้อ 3 อาจถือเป็นคำซ้อนซ้ำ คือคำที่ 1 กับ 3 เป็นคำซ้ำซ้อนสลับคู่กับคำซ้อน
ที่เป็นคำที่ 2 กับ 4 แต่ที่จริงข้อ 2 ควรเป็นคำประสมมากกว่าเพราะคำ อด ผิด ถูก หน้า หาย เป็น ฯลฯ
ที่เป็นตัวซ้ำได้มาจากคำประสมว่า อดนอน ผิดตา ถูกใจ หน้าอก หายใจ เป็นทุกข์ หรือคำประสม
ที่ตรงกันข้าม เช่น มิดี กับมิร้าย ไม่ใช้ว่ากำหนดขึ้นมาตามชอบใจ