ลักษณะคำซ้อนเพื่อความหมายที่เป็นคำไทยซ้อนกับคำภาษาอื่น
ส่วนมากเป็นคำภาษาบาลีสันสกฤตและเขมร เพื่อประโยชน์ในการแปลความหมายด้วย
ในการสร้างคำใหม่ด้วยดังกล่าวแล้ว คำที่มาซ้อนกันจึงต้องมีความหมายคล้ายกัน
เมื่อซ้อนแล้วความหมายมักไม่เปลี่ยนไป คำซ้อนลักษณะนี้มีดังนี้
คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต ได้แก่ ซากศพ (ศพ จาก ศว สันสกฤต) รูปร่าง โศกเศร้า
ยวดยาน ทรัพย์สิน (ทรัพย์ จาก ทฺรวฺย สันสกฤต) ถิ่นฐาน จิตใจ ทุกข์ยาก
คำไทยกับคำเขมร ได้แก่ แสวงหา เงียบสงัด เงียบสงบ ถนนหนทาง สะอาดหมดจด
ยกเลิก เด็ดขาด
คำภาษาอื่นซ้อนกันเอง
คำบาลีกับสันสกฤตซ้อนกันเอง ได้แก่
อิทธิฤทธิ์ (อิทฺธิ บ. + ฤทฺธิ ส.)
รูปพรรณ (รูป บ.ส. + พรรณ จาก วรฺณ ส.)
รูปภาพ (รูป + ภาพ บ.ส.)
ยานพาหนะ (ยาน + วาหน บ.ส.)
ทรัพย์สมบัติ (ทฺรวฺย ส. + สมฺปตฺติ บ.ส.)
คำเขมรกับบาลีสันสกฤต ได้แก่ สุขสงบ สรงสนาน เสบียงอาหาร
คำเขมรกับเขมร ได้แก่ สะอาดสอาง สนุกสบาย เลิศเลอ สงบเสงี่ยม