泰语学习网
คำซ้อนเพื่อความหมาย3
日期:2012-05-03 17:37  点击:2223

 

ลักษณะของคำซ้อนเพื่อความหมายที่เป็นคำไทยซ้อนด้วยกัน
 
          1. ซ้อนแล้วความหมายจะปรากฏอยู่ที่คำต้นหรือคำท้ายตรงตาม
 
ความหมายนั้นเพียงคำใดคำเดียว อีกคำหนึ่งไม่มีความหมายปรากฏ เช่น
 
ที่ความหมายปรากฏอยู่ที่คำต้น ได้แก่
 
คอเหนียง (ในความ คอเหนียงแทบหัก)
 
ใจคอ (ในความ ใจคอไม่อยู่กับเนื้อกับตัว)
 
แก้มคาง (ในความ แก้มคางเปื้อนหมด) หัวหู (ในความ หัวหูยุ่ง)
 
ที่ความหมายปรากฏอยู่ที่คำท้าย ได้แก่หูตา (ในความ หูตาแวววาว)
 
เนื้อตัว (ในความ เนื้อตัวมอมแมม)
 
          2. ความหมายของคำซ้อนปรากฏที่คำใดคำเดียวตรงตามความ
 
หมายนั้นๆ เช่นข้อ 1 ต่างกันก็แต่คำที่มาซ้อนเข้าคู่กันเป็นคำตรงกัน
 
ข้ามแทนที่จะมีความหมายเนื่องกับคำตรงกันข้ามนั้นๆ กลับมีความหมาย
 
ที่คำใดคำเดียวอาจเป็นคำต้นก็ได้คำท้ายก็ได้
 
ที่ปรากฏที่คำต้น ได้แก่ ผิดชอบ (ในคำ ความรับผิดชอบ)
 
ที่ปรากฏที่คำท้าย ได้แก่ ได้เสีย (เช่น เล่นไพ่ได้เสียกันคนละมากๆ)
 
          3. ความหมายของคำซ้อนที่ปรากฏอยู่ที่คำทั้งสอง ทั้งคำต้นและ
 
คำท้าย แต่ความหมายต่างกับความหมายของคำเดี่ยวอยู่บ้าง เช่น พี่น้อง
 
หมายถึงผู้ที่อยู่ในวงศ์วานเดียวกันเป็นเชื้อสายเดียวกันใครอายุมาก
 
นับเป็นพี่ ใครอายุน้อยนับเป็นน้อง ถ้าใช้คำว่าพี่น้องท้องเดียวกัน จึงถือ
 
เป็นผู้ร่วมบิดามารดาเดียวกัน
 
ลูกหลาน ก็เช่นกัน มิได้หมายเจาะจงว่า ลูกและหลาน หรือลูก
 
หรือหลาน เช่น เขาเป็นลูกหลานครู ย่อมหมายถึงผู้ที่สืบเชื้อสายมา
 
จากครู อาจเป็นลูกหรือหลายหรือเหลน ก็ได้ ไม่ได้ระบุลงไปแน่
 
          4. ความหมายของคำซ้อนปรากฏเด่นอยู่ที่คำใดคำเดียว ส่วน
 
อีกคำหนึ่งถึงจะไม่มีความหมายปรากฏ แต่ก็ช่วยเน้นความหมายยิ่งขึ้น
 
เช่นเงียบเชียบ เชียบไม่มีความหมาย แต่ช่วยทำให้คำ เงียบเชียบ
 
มีความหมายว่า เงียบ มากยิ่งกว่า เงียบ คำเดี่ยวคำเดียว
 
ดื้อดึง ก็มีลักษณะ ดื้อ มากกว่า ดื้อดึง ขนาดใครว่าอย่างไรก็ไม่ฟัง จะทำตามใจตนให้ได้
 
คล้ายคลึง มีลักษณะ เหมือน มากกว่า คล้าย
 
          5. ความหมายของคำซ้อนกับคำเดี่ยวต่างกันไป บางคำอาจถึง
 
กับเปลี่ยนไปเป็นคนละความ ที่ใดควรใช้คำเดียว กลับไปใช้คำซ้อน
 
หรือกลับกัน ที่ใดควรใช้คำซ้อนกลับไปใช้คำเดี่ยว เช่นนี้ ความหมาย
 
ย่อมผิดไป คำซ้อนลักษณะนี้ได้แก่
 
พร้อม กับ พร้อมเพรียง เช่น เด็กมีความพร้อมที่จะเรียน 
 
หมายความว่า ประสาทต่างๆ ถึงเวลาจะทำงานได้ครบถ้วน เพราะ
 
พร้อม แปลว่า เวลาเดียวกัน ครบครัน ฯลฯ หากใช้ว่าเด็กมี
 
ความพร้อมเพรียงที่จะเรียน ต้องหมายว่ามีความร่วมใจกันเป็นอันหนึ่ง
 
อันเดียวกันในการเรียน เพราะพร้อมเพรียง มีความหมายเช่นนั้น
 
แข็ง กับ แข็งแรง แข็งอาจใช้ได้ทั้งกายและใจ เช่น เป็นคน
 
แข็งไม่ยอมอ่อนข้อให้ใคร หรือใจแข็ง ไม่สงสาร ไม่ยอมตกลงด้วย
 
ง่ายๆ ส่วนแข็งแรง ใช้แต่ทางกายไม่เดี่ยวกับใจ คนแข็งแรงคือคนร่างกายสมบูรณ์มีเรี่ยวแรงมาก
 
          6. คำซ้อนที่คำต้นเป็นคำคำเดียวกันแต่คำท้ายต่างกัน ความหมายย่อมต่างกันไป เช่น
 
จัดจ้าน (ปากกล้า ปากจัด) กับ จัดเจน (สันทัด ชำนาญ)
 
เคลือบแคลง (ระแวง สงสัย) กับ เคลือบแฝง
 
(ช่วนสงสัยเพราะความจริงไม่กระจ่าง)
 
ขัดข้อง (ติดชะงักอยู่ ไม่สะดวก) กับ ขัดขวาง (ทำให้
 
ไม่สะดวกไปได้ไม่ตลอด)
 
          7. ความหมายของคำซ้อนขยายกว้างออก ไม่ได้จำกัดจำเพาะความหมายของคำเดี่ยว
 
สองคำมาซ้อนกัน ได้แก่เจ็บไข้ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงเจ็บเพราะบาดแผลหรือฟกช้ำ
 
และมีอาการความร้อนสูงเพราะพิษไข้ แต่หมายถึงอาการไม่สบายเพราะสุขภาพไม่ไดี
 
เรื่องใดๆ ก็ได้ทุบตี หมายถึงทำร้ายด้วยวิธีการต่างๆ อันอาจเป็น เตะ
 
ต่อย ทุบ ถอง ฯลฯ ไม่ได้หมายเฉพาะทำร้ายด้วยวิธีทุบและตีเท่านั้น
 
ฆ่าฟัน ไม่จำเป็นต้องทำให้ตายด้วยคมดาบ อาจใช้ปืนหรืออาวุธอย่างอื่นทำให้ล้มตายก็ได้

分享到:

顶部
11/16 19:05
首页 刷新 顶部