泰语学习网
ลักษณะของคำซ้ำ
日期:2012-05-03 17:23  点击:5345

 

ลักษณะของคำซ้ำ

          1. คำซ้ำที่ซ้ำคำนาม แสดงพหูพจน์ บอกว่านามนั้นมีจำนวนมากกว่าหนึ่ง

ได้แก่ เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ เช่น เห็นเด็กๆ เล่นอยู่ในสนาม มีแต่หนุ่มๆ สาวๆ เดินไปเดินมา

          2. คำซ้ำที่ซ้ำคำขยายนาม แสดงพหูพจน์ก็มีเน้นลักษณะก็มี

เช่น ฉันให้เสื้อดีๆ เขาไป เสื้อตัวนี้ยังดีๆ อยู่ มีแต่ปลาเป็นๆ

บางทีเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ที่คำต้นด้วยเมื่อต้องการเน้นลักษณะ

คำขยายนั้นๆ ดังกล่าวแล้วในเรื่องวรรณยุกต์ ส่วนมากเสียงจะเปลี่ยนเป็นเสียงตรี ดังนี้

ดี๊ดี เก๊าเก่า บ๊าบ้า ร๊ายร้าย ซ้วยสวย


          3. คำซ้ำที่ซ้ำคำขยายนามหรือสรรพนาม แสดงความไม่เจาะจง

หากพูดคำเดี่ยวคำเดียวย่อมเป็นการยืนยันเจาะจงแน่นอนลงไป

เช่น มะม่วงเล็ก แสดงว่า เล็ก แน่ไม่เป็นอื่น แต่ถ้าหากใช้คำซ้ำว่า ลูกเล็กๆ แสดงว่าอาจจะไม่เล็ก

ทั้งหมด มีเล็กบ้างใหญ่บ้าง แต่ส่วนมากเห็นแต่ลูกเล็กๆ คำอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน ดังนี้

ที่ซ้ำคำขยาย ได้แก่ แดงๆ เช่น เสื้อสีแดงๆ แสดงว่าไม่แดงทีเดียว แต่มีลักษณะไปทางแดง

พอจะเรียกว่า แดง ได้ หรือกลมๆ เช่น ผลไม้ลูกกลมๆ อาจจะไม่กลมดิก แต่ค่อนไปทางกลม

อย่างไข่เป็นต้นก็ได้

ที่ซ้ำคำนาม ได้แก่ ผู้ใหญ่ๆ เด็กๆ เช่น พวกเด็กๆ นั่งคนละทางกับพวกผู้ใหญ่ๆ

ซึ่งไม่แน่ว่าเป็นพวกเด็กทั้งหมด หรือผู้ใหญ่ทั้งหมดแต่ส่วนมากเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่ 

หรือดูเป็นเด็กดูเป็นผู้ใหญ่

ที่ซ้ำคำสรรพนาม ได้แก่ เราๆ ท่านๆ เขาๆ เราๆ

หมายถึง คนสองฝ่ายแต่ไม่ได้ระบุแน่ว่าเป็นฝ่ายใด ฝ่ายเดียวกันหรือ

ฝ่ายตรงกันข้าม

ที่เป็นคำซ้ำซ้อนกัน 2 คู่ ลักษณะเช่นนี้ก็มี เช่น สวยๆ งามๆ

ผิดๆ ถูกๆ ความหมายเจาะจงน้อยกว่า สวยงาม ผิดถูก

          4. คำซ้ำที่ซ้ำคำนามหรือคำบอกจำนวนนับจะแยกความหมายออกเป็นส่วนๆ

มื่อมีคำ เป็น มาข้างหน้า ถ้าใช้คำเดี่ยวก็เป็นเพียงจำนวนครั้งเดียว แต่ถ้าใช้คำซ้ำ 

นอกจากจะว่าจำนวนนั้นมีมากกว่าหนึ่งแล้ว ยังแยกออกไปเป็นทีละหนึ่งๆ อีกด้วย เช่น

ชั่งเป็นกิโลๆ (ชั่งทีละกิโล และมีมากกว่ากิโลหนึ่ง)

ตรวจเป็นบ้านๆ ไป (ตรวจทีละบ้าน แต่มีหลายบ้าน)

ซื้อเป็นร้อยๆ (ซื้อหลายร้อย แต่ชั่งหรือนับกันทีละร้อย)

แตกเป็นเสี่ยงๆ (แตกออกหลายชิ้น แต่ละชิ้นกระจัดกระจายกันไป)

น่าสังเกตว่า ทำเป็นวันๆ กับ ทำไปวันหนึ่งๆ มีความหมายต่าง

กันคือ ทำเป็นวันๆ หมายความว่า ทำวันหนึ่งก็ได้ค่าจ้างทีหนึ่ง ทีละ

วันๆ ไป ส่วน ทำไปวันๆ คือ ทำงานให้พ้นๆ ทีละวันๆ ไป

          5. คำซ้ำที่ซ้ำบุรพบท หรือคำขยาย ใช้ขยายกริยาบอกความเน้น เมื่อเป็นคำสั่ง

ที่ซ้ำคำบุรพบท ได้แก่ เขียนกลางๆ นั่งในๆ เย็บตรงริมๆหยิบบนๆ วางใต้ๆ

ที่ซ้ำคำขยาย ได้แก่ เขียนดีๆ พูดดังๆ เดินเร็วๆ วิ่งช้าๆ

          6. คำซ้ำที่ซ้ำจากคำซ้อน 2 คู่ ใช้เป็นคำขยายบอกความเน้น

เช่น ออดๆ แอดๆ แสดงว่าป่วยไข้เสมอยิ่งกว่า ออดแอด ง่อกๆ แง่กๆ 

ดูจะไม่มั่งคงยิ่งกว่า ง่อกแง่ก

ข้อควรสังเกต

          1.คำที่มีเสียงซ้ำกันบางครั้งไม่ใช่คำซ้ำ ได้แก่ เขาพูดกันไปต่าง ๆ นานา

ฉันเห็นเขาจะจะเลย ทั้ง 2 คำนี้เป็นคำมูลสองพยางค์ จะไม่ใช้ไม้ยมก

          2. คำที่มีความหมายและหน้าที่ในประโยคต่างกันไม่ใช่คำซ้ำ เช่น

          เมย์กำลังใช้แปรงแปรงผ้าที่กำลังซัก

          แปรง คำแรกเป็นคำนาม

          แปรงคำที่สอง เป็นคำกริยา


分享到:

顶部
11/16 09:30
首页 刷新 顶部