พยัญชนะต้น
ภาษาไทยแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียดแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
- เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
- เสียงไม่ก้อง พ่นลม
- เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง s ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) ล่างสุดอักษรโรมันตามราชบัณฑิตติญสถานนะครับ
ริมฝีปาก ทั้งสอง |
ริมฝีปากล่าง -ฟันบน |
ปุ่มเหงือก | หลังปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก |
[m] ม m |
[n] ณ,น n |
[ŋ] ง ng |
||||||||||||
เสียงกัก |
[p] ป p |
[pʰ] ผ,พ,ภ ph |
[b] บ b |
[t] ฏ,ต t |
[tʰ] ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ th |
[d] ฎ,ด d |
[k] ก k |
[kʰ] ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ* kh |
[ʔ] อ** - |
||||||
เสียงเสียดแทรก |
[f] ฝ,ฟ f |
[s] ซ,ศ,ษ,ส s |
[h] ห,ฮ h |
||||||||||||
เสียงผสมเสียดแทรก |
[t͡ɕ] จ c(h) |
[t͡ɕʰ] ฉ,ช,ฌ ch |
|||||||||||||
เสียงรัวลิ้น |
[r] ร r |
||||||||||||||
เสียงเปิด |
[j] ญ,ย y |
[w] ว w |
|||||||||||||
เสียงข้างลิ้น |
[l] ล,ฬ l |
- * ฃ และ ฅ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร
- ** อ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง